เมนู

[เรื่องภิกษุฆ่ายักษ์ ต้องถุลลัจจัย]


ในเรื่องภิกษุหมอผี

มีวินิจฉัยดังนี้:- สองบทว่า ยกฺขํ มาเรสิ
ความว่า พวกอาจารย์ผู้ขับไล่ภูตผี ต้องการจะปลดเปลื้องบุคคลผู้ถูกยักษ์เข้า
สิง จึงเรียกยักษ์ให้ออกมา แล้วพูดว่า จงปล่อย, ถ้ายักษ์ไม่ปล่อย, อาจารย์
หมอผี ก็เอาแป้งหรือดินเหนียว ทำเป็นรูปหุ่นแล้วตัดอวัยวะมีเมือและเท้าเป็น
ต้นเสีย. อวัยวะใด ๆ ของรูปหุ่นนั้นขาดไป, อวัยวะนั้น ๆ ของยักษ์ ย่อมชื่อ
ว่าเป็นอันหมอผีตัดแล้วเช่นกัน. เมื่อศีรษะ (ของรูปหุ่นนั้น) ถูกตัด แม้
ยักษ์ก็ตาย. ภิกษุหมอผีแม้นั้นได้ฆ่ายักษ์ตาย ด้วยวิธีดังกล่าวมานี้. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรับเป็นถุลลัจจัย. เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้ฆ่า
ยักษ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็หาไม่. จริงอยู่ แม้ภิกษุใด พึงฆ่าท้าวสักกเทวราช
ตาย, ภิกษุแม้นั้นก็ต้องงถุลลัจจัยเหมือนกัน.

[เรื่องส่งภิกษุไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ]


ในเรื่องยักษ์ดุร้าย

มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า

วาฬยกฺขวิหารํ


ความว่า (ส่งไป) สู่วิหารที่มียักษ์ดุร้ายอยู่, จริงอยู่ ภิกษุใด เมื่อไม่ทราบ
วิหารเห็นปานนั้น จึงได้ส่ง (ภิกษุบางรูป) ไป เพื่อต้องการให้พักอยู่อย่าง
เดียว, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุใด มีความประสงค์จะไห้ตาย จึงส่งไป
ภิกษุนั้นต้องปาราชิก ในเพราะภิกษุนอกนี้ตาย ต้องถุลลัจจัย เพราะไม่ตาย.
บัณฑิตพึงทราบความต่างกัน แห่งอาบัติและอนาบัติ แม้ของภิกษุผู้ส่ง (ภิกษุ
อีกรูปหนึ่ง) ไปสู่วิหารที่ร้าย ซึ่งมีพวกมฤคมีราชสีห์และเสือโคร่งที่ดุร้ายเป็น
ต้น หรือมีทีฆชาติทั้งหลายมีงูเหลือมและงูเห่าเป็นต้นอยู่อาศัย เหมือนอย่าง
ภิกษุส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น.

นัยที่พ้นจากบาลี มีดังต่อไปนี้ :- บัณฑิตพึงทราบความต่างแห่ง
อาบัติของภิกษุผู้ส่งแม้ยักษ์ที่ร้ายไปสู่สำนักของภิกษุ เหมือนอย่างภิกษุส่งภิกษุ
ไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น. ในเรื่องทั้งหลายนี้ ทางกันดารด้วยสัตว์
ร้ายเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ ในเรื่องทางกันดารมีสัตว์ร้ายเป็นต้น
นี้ มีเพียงใจความเฉพาะบทอย่างเดียวเท่านั้นเป็นชื่อ. (ที่ต่างกัน) อย่างนี้ คือ
ทางกันดารที่มีพวกมฤคที่ดุร้าย หรือมีทีฆชาติอยู่ ชื่อวาฬกันดาร, ทางกันดาร
ที่มีพวกโจรอยู่ชื่อโจรกันดาร. อันธรรมดาว่า มนุสสวิคคหปาราชิกนี้ละเอียด
ย่อมไม่พ้นด้วยปริยายกถา (กถาโดยทางอ้อม). เพราะฉะนั้น ภิกษุใดพึงกล่าว
ว่า ผู้ใดตัดศีรษะของโจร ผู้นั่งอยู่ในโอกาสชื่อโน้นแล้วนำมา, ผู้นั้นย่อมได้
สักการะวิเศษจากพระราชา ดังนี้. ถ้ามีใครได้ฟังคำของภิกษุนั้นแล้วไปฆ่าโจร
นั้นเสีย, ภิกษุนี้ย่อมเป็นปาราชิกแล.

[เรื่องสำคัญว่าเป็นภิกษุคู่เวรแน่จึงฆ่าเสีย]


ในคำมีอาทิว่า ตํ มณฺญมาโน มีวินิจฉัยดังนี้:- ได้ยินว่าภิกษุนั้น
ใคร่จะฆ่าภิกษุผู้มีเวรของตน จึงคิดว่า การที่เราจะฆ่าภิกษุผู้คู่เวรนี้ในกลางวัน
หนีไปโดยความปลอดภัย ไม่พึงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เราจักฆ่าภิกษุนั้นใน
กลางคืน, ครั้น กำหนดไว้แล้ว มาในกลางคืนสำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ ใน
สถานที่ภิกษุมากรูปจำวัด จึงปลงภิกษุรูปนั้นนั่นเองจากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง
สำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ แต่ปลงภิกษุรูปอื่นจากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง สำคัญว่า
ภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่น เอง แต่ก็ปลงภิกษุผู้คู่เวรนั้น
จากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง สำคัญว่า ภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้น
นั่นเอง แต่ก็ปลงภิกษุอื่น ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่นแลจากชีวิต;
เป็นปาราชิกแก่เธอทั้งหมดเหมือนกัน.